“Long Covid Syndrome” ฝันร้ายของคนหายจากโควิด
จากสถานการณ์ที่มีผู้ได้รับเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก และได้รับการรักษาจนอาการหายเป็นปกติแล้ว หลายท่านอาจเข้าใจว่าสุขภาพร่างกายฟื้นกลับเป็นปกติและมีภูมิคุ้มกันแล้ว
แต่เชื่อหรือไม่ว่า ?... ยังมีกลุ่มคนจำนวนมากที่ยังมีบางอาการหลงเหลืออยู่ แม้ว่าเชื้อไวรัสจะลดลงจนตรวจไม่พบแล้วก็ตาม ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้เรียกว่า Long Covid หรือ Long Covid Syndrome จะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อโควิด-19 และเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามกลุ่มอาการจะไม่จำเพาะเจาะจง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระบบของร่างกายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาการโดยรวมที่พบได้บ่อย ได้แก่
แต่เชื่อหรือไม่ว่า ?... ยังมีกลุ่มคนจำนวนมากที่ยังมีบางอาการหลงเหลืออยู่ แม้ว่าเชื้อไวรัสจะลดลงจนตรวจไม่พบแล้วก็ตาม ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้เรียกว่า Long Covid หรือ Long Covid Syndrome จะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อโควิด-19 และเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามกลุ่มอาการจะไม่จำเพาะเจาะจง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระบบของร่างกายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาการโดยรวมที่พบได้บ่อย ได้แก่
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม
- สมาธิสั้น สมองล้า
- การรับกลิ่น รับรสเปลี่ยนไป
- ปวดตามข้อ
- นอนไม่หลับ
และกลุ่มอาการอื่น ๆ ที่พบได้ แต่ไม่บ่อย ได้แก่
- ผมร่วง
- ผื่นตามตัว
- ไข้ ไอ เจ็บคอ
- ซึมเศร้า วิตกกังวล
- เครียดเรื้อรัง สะสม
- ใจสั่น แน่นหน้าอก
- ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ทั้งท้องผูกและท้องเสีย
- การรับรู้รสชาติและกลิ่นเปลี่ยนไป
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนไข้ที่เคยนอนพัก ICU เป็นเวลานาน
- ภาวะ Post Traumatic Stress Disorder หรือ ภาวะป่วยทางจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง
- กรดไหลย้อน
- การได้ยิน การมองเห็นเปลี่ยนไป
- ประจำเดือนมาผิดปกติ
สำหรับสาเหตุของการเกิด Long Covid Syndrome จะยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด เป็นการคาดคะเนว่า อาจมีส่วนมาจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายหลังได้รับเชื้อ ซึ่งอาจเพราะปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อไวรัสรุนแรงเกินไป มีผลทำให้เซลล์บริเวณข้างเคียงเสียหายได้ อีกกรณีที่มีความเป็นไปได้ คือ มีชิ้นส่วนของไวรัสที่ยังไม่ถูกทำลายหลงเหลืออยู่ จึงทำให้เกิดการกระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบอย่างต่อเนื่อง
โดยผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการกลุ่ม Long Covid Syndrome ได้แก่
- ผู้ที่มีอายุ 35-69 ปี
- เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ผู้ที่ติดเชื้อและมีอาการรุนแรงลงปอด
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย
อย่างไรก็ตามหลายท่านอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ว่ามีผลต่อการเกิด Long Covid Syndrome หรือไม่ ?
คำตอบ คือ สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้วจะมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการ Long Covid Syndrome น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนอย่างแน่นอน
ข้อควรปฏิบัติเพื่อที่จะห่างไกลจาก Long Covid Syndrome สำหรับผู้ที่รักษาอาการโควิด-19 หายแล้ว ได้แก่
- คอยสังเกตอาการดังกล่าวข้างต้น หากพบว่ามีอาการดังกล่าวมากกว่า 3 อาการ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพทันที
- ดูแลรักษาสุขภาพด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารเสริม วิตามินหรือแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบำรุงระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด
- รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ครบกำหนด โดยเร็วที่สุด
- หากมีโรคประจำตัว ให้ปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฝึกการหายใจเพื่อลดภาวะเครียด และทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง แจ่มใส
บทความสุขภาพโดย : พ.ญ. ณัฐชนากานต์ ณัฐกิตติ์โภคิน แพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟู ศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2867-0606 ต่อ 1200 , 084-456-7777 , 063-770-0968 , 062-257-5499
Facebook : www.facebook.com/Bangmodaestheticcenter
LINE ID : @bangmod
Instagram : bangmodaesthetic
YouTube : http://www.youtube.com/user/bangmodhos
Facebook : www.facebook.com/Bangmodaestheticcenter
LINE ID : @bangmod
Instagram : bangmodaesthetic
YouTube : http://www.youtube.com/user/bangmodhos