กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis)
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เป็นความผิดปกติของเปลือกตาที่พบได้ โดยจะมีลักษณะที่ขอบล่างของหนังตาบนตกมาคลุมตาดำมากกว่าปกติ (แต่ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร) หนังตาหย่อน ทำให้ดูไม่สดใส เศร้าหมอง ตาปรือคล้ายง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งหากเกิดขึ้นข้างเดียวจะทำให้ดูชั้นตา 2 ข้างไม่เท่ากัน ในบางรายจะปรากฏชั้นตาหลายชั้น (Multiple Fold) ส่งผลทำให้มุมมองการมองเห็นภาพด้านบนลดลง ทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก (Frontalis Muscle) หดเกร็งเป็นเวลานาน จนทำให้ดูเหมือนคิ้วโก่งและเกิดริ้วรอย บริเวณหน้าผาก (Horizontal Forehead Line)
ซึ่งหากปล่อยภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้ไว้นานเกินไป จะทำให้เกิดร่องถาวร (Static Line) และแก้ไขให้เหมือนเดิมได้ยาก ทั้งนี้ในบางกรณีอาจเกิดอาการปวดศีรษะร่วมด้วย เพราะกล้ามเนื้อมีการหดเกร็งเป็นเวลานาน (Tension Headache) โดยหากมีอาการของโรคไมเกรนอยู่แล้ว จะกระตุ้นให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด "ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง" แบ่งได้หลายสาเหตุ ดังนี้
1. Aponeurotic ภาวะหนังตาตกจากเอ็นของกล้ามเนื้อที่ทําหน้าที่ยกหนังตายืด (Levator Palpebrae Superioris) หรือหลุดจากที่เกาะ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของหนังตาตกในผู้ใหญ่ สังเกตได้ง่าย คือ จะเห็นตาตี่เล็กลง ชั้นหนังตาสูงขึ้นหรือหายไป สามารถพบได้หลังจากอุบัติเหตุ หรือภูมิแพ้เรื้อรัง รวมทั้งการที่มีประวัติการใส่คอนแทคเลนส์ร่วมด้วย
2. Myogenic ภาวะที่กล้ามเนื้อยกหนังตาอ่อนแรงลง ทำให้หนังตาตก ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด แต่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้เช่นกัน คือ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิด Myasthenia Gravis เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ส่งผลกระทบต่อบริเวณรอยต่อกล้ามเนื้อร่วมประสาท ทําให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงรวมถึงมีหนังตาตกเป็นพัก ๆ พบมากในเพศหญิง โดยร้อยละ 85 - 90 มีอาการเฉพาะที่ตา อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการมักจะแย่ลงตอนบ่าย ๆ หรือเวลาให้มองขึ้นบนแล้วมองค้างไว้นาน ๆ
3. Neurogenic เป็นภาวะที่เกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ ซึ่งจะมีอาการแตกต่างกันออกไป ได้แก่
- Horner Syndrome (Ocular Sympathetic Paresis) หนังตาตกจากระบบประสาทอัตโนมัติลดการกระตุ้น ส่งผลต่อกล้ามเนื้อยกหนังตา (Muller’s Muscle) ทำให้หนังตาตกเล็กน้อย ม่านตาหดและใบหน้าไม่มีเหงื่อ
- Ophthalmoplegic Migraine หนังตาตกร่วมกับการกลอกตาไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงของม่านตาร่วมด้วย พบได้ในผู้ป่วยไมเกรน ทั้งนี้อาการจะกลับมาเป็นปกติได้ในผู้ป่วยที่เพิ่งเป็นครั้งแรก
- Multiple Sclerosis (MS) หนังตาตกจากโรคภูมิคุ้มกันทําลายตนเองชนิดหนึ่ง ที่มีการทําลายเยื่อหุ้มของระบบประสาท
- Guillain-Barre Syndrome (GBS) หนังตาตกจากโรคเส้นประสาทสั่งการอักเสบ (Motor) มักเป็นหลังการติดเชื้อไวรัส
- Jaw-Winking (Marcus Gunn Syndrome) หนังตาตกจากการเชื่อมต่อกันระหว่างเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 แขนงที่นํากระแสประสาทกับกล้ามเนื้อยกหนังตา
4. Traumatic เกิดจากการถูกยืดหรืออุบัติเหตุต่อเอ็นของกล้ามเนื้อยกหนังตา (Levator Aponeurosis) หรือต่อกล้ามเนื้อตาโดยตรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเกิดอุบัติเหตุว่าได้ทําอันตรายต่อระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ระบบประสาท หรือเกิดแผลเป็นดึงรั้งที่หนังตาหรือไม่อย่างไร การรักษาต้องแก้ไขตามสภาพหรืออาจต้องมีการแก้ไขหลายครั้ง หากยังเหลือความผิดปกติให้เห็นอยู่ นอกจากนี้การผ่าตัดต้อกระจกและการผ่าตัดรักษาต้อหิน (Trabeculectomy) มีโอกาสจะทําให้เกิดหนังตาตกได้ประมาณร้อยละ 10 - 20
5. Mechanical Ptosis เกิดจากการที่มีก้อนเนื้องอกและแผลเป็นดึงรั้ง ทำให้เกิดภาวะหนังตาบวม (Blepharochalasis) มีไขมันและผิวหนังส่วนเกิน บริเวณหนังตาบน ร่วมกับการฉีดสารแปลกปลอมบริเวณเปลือกตา อาทิ ซิลิโคน ไขมัน คิ้วตก ซึ่งภาวะเช่นนี้ ทำให้หนังตามีน้ำหนักมากเกินและเกิดการอักเสบติดเชื้อ จนแผลเป็นดึงรั้งที่หนังตาล่าง ได้
นอกจากนี้ยังมีอาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหลอก ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แบ่งออกได้เป็น
1. ภาวะที่มีหนังเปลือกตาหย่อนและมีส่วนเกินมากเกินไป (Dermatochalasia)ซึ่งมักจะพบในวัยสูงอายุ
2. ภาวะตาเข ลงด้านล่าง (Hypotropia)
3. ภาวะลูกตาเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเบ้าตา (Microphthalmia)
หรือไม่มีลูกตาเลย (Anophthalmia)
4. ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) ในบางราย มีอาการทางตา 2 ข้างไม่เหมือนกัน
5. ภาวะตาโปน 1 ข้างหนึ่ง (Contralateral Exophthalmos) แต่เบ้าตาเท่ากัน จะทำให้ดูเหมือนตาอีกข้างเล็กลง
สำหรับแนวทางการรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากความรุนแรงของกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงเป็นหลัก ซึ่งหากมีสาเหตุของการเกิดโรค จะต้องทำการรักษาจากสาเหตุก่อนเสมอ โดยแพทย์จะใช้วิธีเย็บตรึงกล้ามเนื้อตาในระดับที่แตกต่างกัน เพราะความหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อตาแต่ละข้างจะไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ต้องเลาะชั้นตาออก ลงลึกไปถึงกล้ามเนื้อตาที่อยู่ในชั้นหนังตา เพื่อเย็บให้แข็งแรงหรือผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาจากแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น ซึ่งหลังจากผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้ว อาการตาปรือ คล้ายคนง่วงนอน เบ้าตาที่ลึกโบ๋จะหายไป ให้ดวงตาดูโตสดใส เพิ่มความอ่อนเยาว์ให้ใบหน้า ทำให้การแต่งหน้าสวยได้ง่ายขึ้น เพิ่มการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน รวมทั้งลดการเกิดริ้วรอยบริหน้าผาก ลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ นอกจากนี้การผ่าตัดจะช่วยทำให้ผู้ที่ไม่มีชั้นตา มีชั้นตาที่ชั้นเจนได้มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและมีความต้องการทำศัลยกรรมตาสองชั้น เพื่อความงาม ควรจะผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้เป็นปกติก่อน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงมากกว่าเดิม เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ การผ่าตัดที่ผิดวิธี, มีเลือดออดในปริมาณที่มาก, มีการสร้างชั้นตาที่สูงกว่าปกติ รวมทั้งการตัดไขมัน (Preaponeurotic Fat) ออกมากเกินไป เพื่อต้องการทำให้ชั้นตาโต จะยิ่งทำให้เกิด ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่มากกว่าเดิมได้ ซึ่งหากเกิดความผิดปกติแล้ว จะผ่าตัดแก้ไขภายหลังอาจจะทำได้ยากกว่าเดิม
บทความสุขภาพโดย : นพ.อนุชิต อดิโรจนานนท์ แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง ศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด
ซึ่งหากปล่อยภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้ไว้นานเกินไป จะทำให้เกิดร่องถาวร (Static Line) และแก้ไขให้เหมือนเดิมได้ยาก ทั้งนี้ในบางกรณีอาจเกิดอาการปวดศีรษะร่วมด้วย เพราะกล้ามเนื้อมีการหดเกร็งเป็นเวลานาน (Tension Headache) โดยหากมีอาการของโรคไมเกรนอยู่แล้ว จะกระตุ้นให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด "ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง" แบ่งได้หลายสาเหตุ ดังนี้
1. Aponeurotic ภาวะหนังตาตกจากเอ็นของกล้ามเนื้อที่ทําหน้าที่ยกหนังตายืด (Levator Palpebrae Superioris) หรือหลุดจากที่เกาะ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของหนังตาตกในผู้ใหญ่ สังเกตได้ง่าย คือ จะเห็นตาตี่เล็กลง ชั้นหนังตาสูงขึ้นหรือหายไป สามารถพบได้หลังจากอุบัติเหตุ หรือภูมิแพ้เรื้อรัง รวมทั้งการที่มีประวัติการใส่คอนแทคเลนส์ร่วมด้วย
2. Myogenic ภาวะที่กล้ามเนื้อยกหนังตาอ่อนแรงลง ทำให้หนังตาตก ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด แต่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้เช่นกัน คือ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิด Myasthenia Gravis เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ส่งผลกระทบต่อบริเวณรอยต่อกล้ามเนื้อร่วมประสาท ทําให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงรวมถึงมีหนังตาตกเป็นพัก ๆ พบมากในเพศหญิง โดยร้อยละ 85 - 90 มีอาการเฉพาะที่ตา อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการมักจะแย่ลงตอนบ่าย ๆ หรือเวลาให้มองขึ้นบนแล้วมองค้างไว้นาน ๆ
3. Neurogenic เป็นภาวะที่เกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ ซึ่งจะมีอาการแตกต่างกันออกไป ได้แก่
- Horner Syndrome (Ocular Sympathetic Paresis) หนังตาตกจากระบบประสาทอัตโนมัติลดการกระตุ้น ส่งผลต่อกล้ามเนื้อยกหนังตา (Muller’s Muscle) ทำให้หนังตาตกเล็กน้อย ม่านตาหดและใบหน้าไม่มีเหงื่อ
- Ophthalmoplegic Migraine หนังตาตกร่วมกับการกลอกตาไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงของม่านตาร่วมด้วย พบได้ในผู้ป่วยไมเกรน ทั้งนี้อาการจะกลับมาเป็นปกติได้ในผู้ป่วยที่เพิ่งเป็นครั้งแรก
- Multiple Sclerosis (MS) หนังตาตกจากโรคภูมิคุ้มกันทําลายตนเองชนิดหนึ่ง ที่มีการทําลายเยื่อหุ้มของระบบประสาท
- Guillain-Barre Syndrome (GBS) หนังตาตกจากโรคเส้นประสาทสั่งการอักเสบ (Motor) มักเป็นหลังการติดเชื้อไวรัส
- Jaw-Winking (Marcus Gunn Syndrome) หนังตาตกจากการเชื่อมต่อกันระหว่างเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 แขนงที่นํากระแสประสาทกับกล้ามเนื้อยกหนังตา
4. Traumatic เกิดจากการถูกยืดหรืออุบัติเหตุต่อเอ็นของกล้ามเนื้อยกหนังตา (Levator Aponeurosis) หรือต่อกล้ามเนื้อตาโดยตรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเกิดอุบัติเหตุว่าได้ทําอันตรายต่อระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ระบบประสาท หรือเกิดแผลเป็นดึงรั้งที่หนังตาหรือไม่อย่างไร การรักษาต้องแก้ไขตามสภาพหรืออาจต้องมีการแก้ไขหลายครั้ง หากยังเหลือความผิดปกติให้เห็นอยู่ นอกจากนี้การผ่าตัดต้อกระจกและการผ่าตัดรักษาต้อหิน (Trabeculectomy) มีโอกาสจะทําให้เกิดหนังตาตกได้ประมาณร้อยละ 10 - 20
5. Mechanical Ptosis เกิดจากการที่มีก้อนเนื้องอกและแผลเป็นดึงรั้ง ทำให้เกิดภาวะหนังตาบวม (Blepharochalasis) มีไขมันและผิวหนังส่วนเกิน บริเวณหนังตาบน ร่วมกับการฉีดสารแปลกปลอมบริเวณเปลือกตา อาทิ ซิลิโคน ไขมัน คิ้วตก ซึ่งภาวะเช่นนี้ ทำให้หนังตามีน้ำหนักมากเกินและเกิดการอักเสบติดเชื้อ จนแผลเป็นดึงรั้งที่หนังตาล่าง ได้
นอกจากนี้ยังมีอาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหลอก ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แบ่งออกได้เป็น
1. ภาวะที่มีหนังเปลือกตาหย่อนและมีส่วนเกินมากเกินไป (Dermatochalasia)ซึ่งมักจะพบในวัยสูงอายุ
2. ภาวะตาเข ลงด้านล่าง (Hypotropia)
3. ภาวะลูกตาเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเบ้าตา (Microphthalmia)
หรือไม่มีลูกตาเลย (Anophthalmia)
4. ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) ในบางราย มีอาการทางตา 2 ข้างไม่เหมือนกัน
5. ภาวะตาโปน 1 ข้างหนึ่ง (Contralateral Exophthalmos) แต่เบ้าตาเท่ากัน จะทำให้ดูเหมือนตาอีกข้างเล็กลง
สำหรับแนวทางการรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากความรุนแรงของกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงเป็นหลัก ซึ่งหากมีสาเหตุของการเกิดโรค จะต้องทำการรักษาจากสาเหตุก่อนเสมอ โดยแพทย์จะใช้วิธีเย็บตรึงกล้ามเนื้อตาในระดับที่แตกต่างกัน เพราะความหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อตาแต่ละข้างจะไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ต้องเลาะชั้นตาออก ลงลึกไปถึงกล้ามเนื้อตาที่อยู่ในชั้นหนังตา เพื่อเย็บให้แข็งแรงหรือผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาจากแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น ซึ่งหลังจากผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้ว อาการตาปรือ คล้ายคนง่วงนอน เบ้าตาที่ลึกโบ๋จะหายไป ให้ดวงตาดูโตสดใส เพิ่มความอ่อนเยาว์ให้ใบหน้า ทำให้การแต่งหน้าสวยได้ง่ายขึ้น เพิ่มการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน รวมทั้งลดการเกิดริ้วรอยบริหน้าผาก ลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ นอกจากนี้การผ่าตัดจะช่วยทำให้ผู้ที่ไม่มีชั้นตา มีชั้นตาที่ชั้นเจนได้มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและมีความต้องการทำศัลยกรรมตาสองชั้น เพื่อความงาม ควรจะผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้เป็นปกติก่อน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงมากกว่าเดิม เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ การผ่าตัดที่ผิดวิธี, มีเลือดออดในปริมาณที่มาก, มีการสร้างชั้นตาที่สูงกว่าปกติ รวมทั้งการตัดไขมัน (Preaponeurotic Fat) ออกมากเกินไป เพื่อต้องการทำให้ชั้นตาโต จะยิ่งทำให้เกิด ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่มากกว่าเดิมได้ ซึ่งหากเกิดความผิดปกติแล้ว จะผ่าตัดแก้ไขภายหลังอาจจะทำได้ยากกว่าเดิม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2867-0606 ต่อ 1200 , 084-456-7777 , 063-770-0968 , 062-257-5499
Facebook : www.facebook.com/Bangmodaestheticcenter
LINE ID : @bangmod
Instagram : bangmodaesthetic
YouTube : http://www.youtube.com/user/bangmodhos
Facebook : www.facebook.com/Bangmodaestheticcenter
LINE ID : @bangmod
Instagram : bangmodaesthetic
YouTube : http://www.youtube.com/user/bangmodhos